วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ตระกูลพืชกินแมลง



หม้อข้าวหม้อแกงลิง (Nepenthes)

พืชในสกุลหม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นพืชกินสัตว์ที่มีกับดักแบบหลุมพราง (Pitfall traps, pitcher) เหมือนกับพืชในสกุลSarracenia, Darlingtonia, Heliamphora และ Cephalotus และการวิวัฒนาการของกับดักสันนิษฐานว่าการจากการคัดเลือกภายใต้แรงกดดันในระยะเวลายาวนาน เช่น มีสารอาหารในดินน้อย เป็นต้น ทำให้เกิดการสร้างใบรูปหม้อขึ้น และอาจเกิดจากแมลงซึ่ง เป็นเหยื่อของมันหาอาหารมีพฤติกรรม, บิน, คลาน และไต่ ทำให้เกิดการพัฒนาจากโพรงช่องว่างที่เกิดจากใบประกบกันกลายหม้อซึ่งเป็นกับ ดักแบบหลุมพราง
โดยปกติหม้อข้าวหม้อแกงลิงจะสร้างหม้อขึ้นมา 2 ชนิด คือหม้อล่าง เป็นหม้อที่อยู่แถวๆโคนต้นมีขนาดใหญ่ สีสันสวยงาม อีกชนิดคือหม้อบนที่ มีขนาดเล็ก ก้านหม้อจะลีบแหลม รูปทรงของหม้อจะเปลี่ยนไป และสีสันจืดชืดกว่า หรือความแตกต่างอีกอย่างคือหม้อล่างทำหน้าที่ล่อเหยื่อและดูดซึมสารอาหารไปใช้ในการเจริญเติบโต ส่วนหม้อบน เมื่อต้นโตขึ้น สูงขึ้น หม้อบนจะลดบทบาทการหาเหยื่อ แต่เพิ่มบทบาทการจับยึด โดยก้านใบจะม้วนเป็นวง เกาะเกี่ยวกิ่งไม้ข้างๆ ดึงเถาหม้อข้าวหม้อแกงลิงให้สูงขึ้นและมั่นคงขึ้นไม่โค่นล้มโดยง่าย แต่ในบางชนิดเช่น N. rafflesiana เป็นต้น หม้อที่ต่างชนิดกัน ก็จะดึงดูดเหยื่อที่ต่างชนิดกันด้วย

กาบหอยแครง ( Dionaea)


ชื่อวิทยาศาสตร์ของ VFT คือ Dionaea muscipula
ใน บรรดาพืชกินแมลงทุกชนิด VFT จัดว่าเป็นพืชที่เร้าใจที่สุด สมควรมีไว้ประดับเรือนต้นไม้ เพราะมันเป็นพืชกินแมลงที่มีวิธีการกินแมลงได้เร้าใจที่สุด ไม่ได้รอให้แมลงตกลงไปตายเหมือนหม้อข้าวหม้อแกงลิง ซาราซีเนีย ฯลฯ แต่มันสามารถงับแมลงต่อหน้าต่อตาเลยทีเดียว
แต่คนส่วนใหญ่ไม่มี VFT ประดับเรือนต้นไม้ เพราะไม่รู้จัก หรือเคยเลี้ยง แต่ตายหมดจนเข็ดขยาด ไม่เอาอีกแล้ว จน VFT ถูกครหาว่า เป็นไม้ที่เลี้ยงยากที่สุด ต้องประคบประหงมกันสุดชีวิต บางคนเอาVFT ไปเลี้ยงในห้องแอร์โดยไม่รู้ว่า อันที่จริงมันชอบอากาศร้อนแบบเดือนเมษายนในบ้านเรา ร้อนแบบ 40 องศาเซลเซียสนั่นเลย

ลิลลี่งูเห่า (Darlingtonia)


ดาร์ลิงโทเนีย(Darlingtonia) หรือชื่อทั่วไปที่คนระดับชาวบ้านเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Cobra Lilly แปลว่าลิลลี่งูเห่า
ลิลลี่งูเห่าเป็นพืชกินแมลงกลุ่มเดียวกับซาราซีเนียและHeliamphora มี ชื่อเสียงในแง่ของความแปลกประหลาด น่าพิศวงและสวยงามเป็นอย่างยิ่ง แต่ขณะเดียวกันก็มีชื่อด้านตรงข้ามในแง่ของความบอบบางจนกล่าวกันว่า ลิลลี่งูเห่าเป็นพืชกินแมลงที่เลี้ยงยากที่สุดในโลก แม้แต่ในถิ่นที่ลิลลี่งูเห่ากำเนิดเป็นดงใหญ่ ชาวบ้านในละแวกนั้น ขุดมาใส่กระถางก็ยังตาย
ดาร์ ลิงโทเนียเป็นพืชล้มลุกไม่มีเนื้อไม้ อายุหลายปี มีต้นฝังอยู่ใต้ดินเรียกว่าเหง้า รากแตกเป็นฝอยเล็กๆ ไม่มีรากแก้ว ใบของมันจะแทงขึ้นพ้นพื้นดินลักษณะเป็นกอ เช่นเดียวกับซาราซีเนีย แต่ความแตกต่างที่เห็นชัดคือว่า กรวยที่ยกขึ้นเป็นหลอดด้านหนึ่งจะโค้งงอเป็นรูปโดม จนไปชนปลายกรวยอีกด้านหนึ่งเหลือไว้เพียงรูเล็กๆ พอให้แมลงมุดขึ้นไปได้ ฝากรวยแปลงรูปไปเป็นแผ่นคล้ายลิ้นงู 2 แฉก แล้วกรวยของมันยังบิดตัวหมุนกลับ 180 องศา ทำให้ลิ้น 2 แฉกหมุนกลับมาอยู่นอกกอ ยอดโดมเป็นเนื้อเยื่อใสคล้ายพลาสติก แสงลอดผ่านได้

หยาดน้ำค้าง (Drosera)


หยาดน้ำค้างเป็นพืชกินแมลงที่มีสายพันธุ์หลากหลายมากที่สุดในปัจจุบัน มันกระจายตัวอยู่ทั่วโลก ตั้งแต่บริเวณขั้วโลกที่หนาวเย็นจนถึงทะเลทรายร้อนระอุในออสเตรเลีย
แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นลักษณะร่วมกันคือบนผิวใบของมันจะสร้างต่อมจำนวนนับร้อย เรียก trichomes ต่อมกลุ่มนี้แบ่งหน้าที่ทำงาน โดยส่วนหนึ่งซึ่งจะสร้างน้ำเหนียวใสคล้ายกาวเป็นหยดเล็กๆ จำนวนมาก กลิ่นรสยั่วแมลงให้เข้าไปดูดกิน มองเห็นพร่างพราวเหมือนน้ำค้าง คนไทยจึงเรียกว่า “หยาดน้ำค้าง” หรือภาษาอังกฤษเรียก “Sundew”ใบของหยาดน้ำค้างมีหลายแบบ ทั้งประเภทที่แบนราบกับพื้น ทั้งชนิดที่มีก้านสูงแกว่งไกวไปตามลม

สาหร่ายข้าวเหนียว (Utricularia aurea lour.)


สาหร่านข้าวเหนียว เป็นไม้น้ำขนาดเล็กอีกชนิดห
นึ่งที่ขึ้นปะปนกับสาหร่ายพุงชะโด และสาหร่ายหางกระรอกพบทั่วไปตามแหล่งน้ำนิ่ง ขณะออกดอกจะเห็นสีเหลืองสดพราวไปทั่วบริเวณ เพราะช่อดอกจะชูขึ้นสูงเหนือน้ำ ส่วนลำต้นและใบจมอยู่ใต้น้ำสาหร่ายชนิดนี้มีความน่าสนใจเป็นพิเศษเพราะเป็น พืชกินแมลง ใบเป็นเส้นเล็กๆ ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม หรือเป็นกระจุกๆ ละ ๔ ใบ ตรงโคน ใบพองออกเป็นถุง หรือกระเปาะเล็กๆ สำหรับจับแมลง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดที่มีจำนวนมากหรือด้วยลำต้นที่ขาดเป็นท่อนๆ
สาหร่ายข้าวเหนียวมีชื่อเรียกต่างๆ กันไปอีกหลายชื่อ เช่น ปราจีนบุรีเรียกว่า สาหร่ายไข่ปูสุพรรณบุรีเรียกว่าสาหร่ายดอกเหลือง กรุงเทพฯเรียกว่า สาหร่าย หรือสาหร่ายนา ที่น่าสนใจคือ ชื่อ สายตีนกุ้ง ที่ชาวนครศรีธรรมราชเรียกนั้นอาจเพี้ยนมาเป็น สายติ่ง ซึ่งมีกล่าวถึงในวรรณคดี หลายบทหลายตอนแต่ไม่มีข้อมูลว่า เป็นพันธุ์ไม้ชนิดใดก็ได้

กระเป๋าจิงโจ้ (Cephalotus)


กระเป๋า จิงโจ้ ได้รับฉายาว่าเป็น ”อัญมณีแห่งพืชกินแมลง” ด้วยความหายาก ความสวยงาม และความลึกลับในตัวเอง บวกราคาแพงลิบลิ่วสมกับความล้ำค่า
กระเป๋า จิงโจ้ได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงสำหรับนักเลี้ยงพืชกินแมลงทั่วโลกว่า นักสะสมพืชกินแมลงที่สามารถเลี้ยงมันได้งดงาม จัดเป็นสุดยอดเซียนที่คนอื่นๆ ต้องยอมอ่อนข้อให้เลยทีเดียว อย่างไรก็ตามนักเลี้ยงบางคนกล่าวว่า Cephalotus เป็นพืชที่เลี้ยงยากอันดับสองรองจาก Darlintonia กระเป๋า จิงโจ้เป็นพืชที่ไม่มีญาติพี่น้องร่วมสกุล และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่น้อยหน้าใคร แม้มันจะมีเพียงชนิดเดียว แต่ กระเป๋าจิงโจ้ก็มีหลายฟอร์ม โดยแบ่งแยกได้จากความแตกต่างกันในเรื่องของขนาดกระเป๋า สี ลวดลาย และอุปนิสัยในการเลี้ยงดู ที่พบบ่อยคือฟอร์มสีเขียว สีแดง และสีม่วงเข้ม

ขอขอบคุณ MakampoM's Blog ด้วยครับ.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น